Storyboard เรื่องมารยาทไทย

ฉากที่1 ทั้งสามคนในกลุ่มกล่าวคำทักทายแนะนำตัวที่หน้าห้อง 4/1 โดยมีคนถ่ายให้

ฉากที่2 ถิรวัตน์พูดเกี่ยวกับมารยาทไทย บทพูด = “ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ วิไลลักษณ์เป็นคนถ่าย

ฉากที่3 กำพลสาธิตการไหว้ทั้งสามระดับ 1.ไหว้พระ 2. ไหว้ผู้ใหญ่ 3. ไหว้เพื่อน โดยมีถิรวัตน์เป็นคนบอกการปฏิบัติ

ฉากที่4 กำพลสาธิตการกราบเบญจาคประดิษฐ์ กราบศพ ทั้ง ศพเด็ก ศพผู้ใหญ่ ศพพระ กราบผู้ใหญ่ โดยมีถิรวัตน์เป็นคนบอกการปฏิบัติ

ฉากที่5 กำพลสาธิตการรับของส่งของจากผู้ใหญ่ ตอนนั่งกับพื้น นั่งบนเก้าอี้ ยืน โดยมีถิรวัตน์เป็นคนบอกการปฏิบัติ

ฉากที่6 ทั้งสามคนในกลุ่มกล่าวคำขอบคุณ

บันไดสู่บังลังค์ผู้พิพาษษา

บันไดขั้นแรกของการก้าวสู่บัลลังค์ผู้พิพากษาคงหนีไม่พ้นการต้องสำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์ ซึ่งมีเปิดสอนเกือบทุกมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยเปิด หรือแม้กระทั่งในส่วนภูมิภาคก็มีราชภัฎประจำจังหวัด เปิดสอนอยู่อย่างครบครัน ส่วนจะเลือกเรียนที่ไหนนั้นก็คงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการของผู้เรียน การเรียนในคณะนิติศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมีหลักสูตรสี่ปี

ไม่เพียงแต่เด็กมัธยมปลายที่ก้าวเข้ารั้วมหาลัยในฐานะน้องใหม่เฟรชชี่เท่า นั้นที่หันมาสนใจเรียนนิติศาสตร์เพิ่มขึ้นแต่นิติศาสตร์ยังกลายเป็นคณะยอด ฮิตของคนทำงานที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม และมองหาปริญญาใบที่สอง มีหลายจะสถาบันที่เปิดสอนคณะนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ที่ยอดฮิตก็อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดรับให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาอื่นมาศึกษาได้โดยมีหลักสูตร สาม ปี

นิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของสังคมแม้ผู้เรียนอาจจะไม่ได้ หวังไกลไปถึงบัลลังค์ผู้พิพากษาแต่ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่ได้รับจาก สาขาวิชานี้ก็สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและดูเหมือนว่าชาว นิติศาสตร์ส่วนใหญ่เกือบครึ่งเลือกเรียนในคณะนี้ จะมุ่งเป้าไปที่ตำแหน่งผู้พิพากษาเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าในแต่ละปีจะมีผู้ผ่านการสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุแต่งตั้งเพียง หลักร้อยเท่านั้น แต่การคัดเลือกผู้พิพากษา นั้นกลับไม่ใช่การสอบแข่งขัน เอาคะแนนสูงสุดแต่จะเรียกว่าเป็นระบบการสอบแข่งขันกับตัวเองก็คงไม่ผิดนัก คือหากสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่ก.ต.กำหนดไว้ก็สามารถเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา ได้

ประวัติ นิติศาสตร์

เริ่มดำเนินการจัดการศึกษาระดับปริญญา ตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ปริญญาโท พ.ศ. และปริญญาเอก พ.ศ. 2547 คณะนิติศาสตร์ได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ หลักสูตรทุกหลักสูตรทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และเพื่อสนองตอบต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะเน้นหนักการผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในกฎหมายเฉพาะสาขา ไม่ว่าจะเป็นสาขากฎหมายธุรกิจ กฎหมายมหาชน หรือกฎหมายอาญา ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในหลักวิชาชีพนักกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี “ นิติศาสตรบัณฑิต ” ( น . บ .) Bachelor of Laws (LL.B.)

ปรัชญา : นักกฎหมายต้องรับผิดชอบต่อสังคม

ปณิธาน : นักกฎหมายต้องถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและความรู้

หน่วยงานในคณะ

หน่วยงานในคณะ

  • สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย (ส.ช.ธ.)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้จัดตั้งสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2529 เพื่อให้เป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและการให้คำปรึกษาแนะนำทางด้าน กฎหมาย แก่ประชาชน ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >

  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์

เป็นหน่วยงานในสังกัดของคณะนิติศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ทางสาขานิติศาสตร์ สนับสนุนงานวิจัยและให้บริการทางวิชาการ แก่สังคม ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >

  • สมาคมนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เรียกและเขียนชื่อย่อในภาษาไทยว่า ส.น.มธบ. และใช้ชื่อภาษาอังกฤษ Dhurakij pundit University Law Association ใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษ DPU.L.A. เครื่องหมายของสมาคม เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพระสิทธิธาดา มีตราชูตรงกลางจารึกชื่อสมาคมอยู่ด้าน ล่าง สำนักงานตั้งอยู่ที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพมหานคร ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >

  • คณะกรรมการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์

    เพื่อ เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษารู้รักสามัคคีในหมู่คณะรู้จักการทำงานร่วมกัน อันเป็นการสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และกับอาจารย์ กอปรกับเป็นการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จะเพิ่มพูน ประสบการณ์ให้กับนักศึกษามากยิ่งขึ้น ... อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >

หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต (ภาคบัณฑิต)

ถาม-ตอบ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคบัณฑิต)

ถาม

ตอบ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษามีอะไรบ้าง

ต้อง สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าขั้นปริญญาตรีทางสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษา ในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง

ต้องใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรกี่ปี

และเรียนวันไหนบ้าง

ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปีครึ่ง

เรียนวันศุกร์ เวลา 18.00-20.30 น. และ

วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.30-16.30 น.

เรียนทั้งหมดกี่หน่วยกิต

เรียนทั้งหมด 92 หน่วยกิต

หน่วยกิตเท่าไหร่ ค่าบำรุงการศึกษาอื่นๆมีอะไรบ้าง

หน่วยกิตละ 1,500 บาท

ค่าบำรุงการศึกษา ภาคละ 4,000 บาท (ภาคต้น,ภาคปลาย)

ค่าบำรุงห้องสมุด ปีละ 800 บาท

ค่าบำรุงห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์ ปีละ 300 บาทและ

ค่าบำรุงการใช้ Internet ปีละ 1,700 บาท

เริ่มรับสมัครวันไหน และสมัครได้ที่ไหน

วันที่ 1 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2553

สมัครได้ที่หน่วยรับสมัครนักศึกษาใหม่

ตึกอธิการบดี ชั้น 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมต้องติดต่อที่ไหน

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาคาร 3 ชั้น 8 โทรศัพท์ 0-2954-7300 ต่อ 280, 641, 308 หรือ 081-8603932, 081-2633114

มีสอบคัดเลือกไหม

สอบสัมภาษณ์อย่างเดียว

โอนหน่วยกิตบางวิชาจากสถาบันอื่นได้ไหม

ไม่ได้ ทุกคนเรียนเหมือนกันหมด

ค่าใบสมัคร เท่าไร

200 บาท ( มีเล่มหลักสูตรให้ )

เอกสารประกอบในการสมัคร

รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป , 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

TRANSCRIPT (ตัวจริง)และถ่ายสำเนา 2 ชุด

สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

อย่างละ 2 ชุด พร้อมใบรับรองแพทย์ตัวจริง 1 ฉบับ

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรเท่าไร

ประมาณ 150,000 บาท

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด แรกเข้าของหลักสูตร

ประมาณ 32,000 บาท (รวมค่าบำรุงและค่าธรรมเนียม)

ชำระอย่างไร ต้องชำระทันทีหรือไม่

เงินสด หรือ บัตรเครดิต แคชเชียร์เช็ค และโอนเข้าบัญชี

มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (อนุโลมให้ชำระภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่สมัคร)

รับจำนวนเท่าไร

ไม่เกิน 120 คน

จบแล้วไปเรียนต่อเนติฯหรือสภาทนายความหรือต่อปริญญาโทได้หรือไม่

ได้

จบแล้วได้ปริญญาอะไร

นิติศาสตรบัณฑิต หรือ นบ.

ปีการศึกษาหนึ่งเรียนกี่ภาค

3 ภาค ภาคต้น ภาคปลาย และภาคฤดูร้อน

การเตรียมตัวเรียนนิติศาสตร์ ตั้งแต่ม. 4

- คณะนิติศาสตร์ เรียนได้ทุกสายครับ แนะนำให้เรียน ศิลป์-คำนวน, ไทย-สังคม หรือ ศิลป์-ฝรั่งเศษ/เยอรมัน ตามความสนใจครับ

- พื้นฐานแรกเลยก้คือ วิชาคณิตศาสตร์ ครับ ถ้าจะเรียน คณะนิติศาสตร์ (จริงๆแล้วใช้แทบทุกคณะ) ต้องอาศัยการทำความเข้าใจ+ความจำ ซึ่งวิชาคณิตจะช่วยให้น้องๆเป็นคนที่ช่างคิด และมีความจำที่ดีครับ

- ส่วนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องก้คือ สังคม ภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศ ครับ

- ต้องคอยติดตามข่าวสารบ้านเมืองบ่อยๆครับ โดยเฉพาะ ข่าวการเมืองกับข่าวอาชญากรรมครับ (แนะนำให้อ่านหนังสือพิมพ์ แล้วฝึกวิเคราะข่าวที่เราสนใจด้วยนะ)

- สำคัญที่สุดคือต้องรักการอ่านครับ ฝึกอ่านเร็ว หนังสือ 1 เล่มควรอ่านให้หมด ภายใน 3วัน เริ่มจากหนังสือเรียนของน้องๆนั่นและครับ

- ที่ควรรู้ไว้ คือ ประเทศฝรั่งเศษ, เยอรมัน และอังกฤษ เป็นประเทศต้นแบบที่ หลายๆประเทศทั่วโลก นำกฎหมายของประเทศเหล่านั้นไปปรับใช้ รวมทั้งไทยด้วยนะ เพราะ ถ้าอยากรุ่ง ทาง ด้านนี้จริง ก้ให้ศึกษา ภาษาของประเทศเหล่านี้ไว้ด้วยคับ (เลือกเอาเองละกัน หรือจะเหมาหมดก้ไม่ว่านะ)

- ว่างๆก้หาหนังสือ เกี่ยวกับกฎหมายเบื่องต้น มาอ่านเล่นๆดูครับ (แนะนำของรามฯครับทั้งดีและถูกช่วยพ่อแม่ประหยัดตังด้วย ต้องมาซื้อที่ศูนย์หนังสืรามฯหัวหมากครับ เล่มละ 41

คุณสมบัติการเข้าสมัคร

• ต้องสำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 , ปวช , ทุกกลุ่มสาขา หรือเทียบเท่า

• การเทียบโอน

การเทียบโอน ดังนี้




การขอเทียบโอนรายวิชาจากสถาบันอื่น

มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเทียบโอนรายวิชา และหน่วยกิตระดับปริญญาตรี หรือระดับปวส. เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี โดยมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้

  1. คุณสมบัติขอผู้ที่มีสิทธิ์ขอโอนหน่วยกิตจากสถาบันอื่น
    1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
    1.2 เป็นหรือเคยเป็นนักศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่าในหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฏหมายรับรอง
    1.3 ไม่เป็นผู้ถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกหรือให้พ้นสภาพนักศึกษา ด้วยเหตุถูกลงโทษทางวินัยจากสถาบันอุดมศึกษาใดมาก่อน

  2. การเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากสถาบันอื่นให้ใช้เกณฑ์ ดังนี้
    2.1 เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่าที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือกระทรวงศึกษาธิการหรือ หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฏหมายรับรอง
    2.2 เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในที่ ของรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
    2.3 เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน C หรือแต้มระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า
    2.4 จำนวนหน่วยกิตของรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาที่ขอโอนหน่วยกิตนับรวมกันแล้วต้องไม่เกินสามในสี่ของจำนวน หน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
    2.5 รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนมาจากสถาบันอื่นจะไม่นำมาคำนวนระดับ คะแนนเฉลี่ยสะสมยกเว้น*รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนหน่วยกิตจากกรณี ศึกษาข้ามสถาบัน

  3. การเทียบรายวิชาหรือโอนหน่วยกิตจะกระทำได้ไม่เกินชั้นปี และภาคการศึกษาที่มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว

  4. นัก ศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่น้อยว่า 1 ปีการศึกษา และต้องลงทะเบียนเรียนและผลการศึกษาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิตจึงจะมีสิทธิ์สำเร็จการศึกษา แต่ไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยม

  5. ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเทียบโอนหน่วยกิต ณ วันที่ทำการสมัคร ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่ อาคาร 10 ชั้น 4